Screen Shot 2558-05-13 at 14.15.21

CAPTCHA อ่านออกเสียงว่า แคปช่า ย่อมาจาก Completely Automated Public Turing test to tell Computers and Humans Apart ระบบแคปต์ชาเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งซึ่งเป็นเครื่องแม่ข่าย จะถามผู้ใช้งานด้วยการทดสอบอย่างหนึ่งที่สร้างขึ้นมา และผู้ใช้จำเป็นต้องตอบให้ถูกต้องเพื่อให้สามารถเข้าสู่ระบบได้ แต่คอมพิวเตอร์เองนั้นไม่สามารถแก้ปัญหาที่ตัวมันเองสร้างขึ้นได้ สามารถตรวจได้แค่ว่าถูกหรือผิดตามที่ระบุไว้ตอนต้นเท่านั้น ระบบแคปต์ชาโดยทั่วไปจะให้ผู้ใช้ตอบคำถามด้วยการกดแป้นตัวอักษรตามที่ปรากฏในรูปภาพที่บิดเบี้ยว บางครั้งอาจมีการเพิ่มจุด แถบสี หรือเส้นหงิกงอลงในรูปภาพนั้น เพื่อวัตถุประสงค์ในการหลีกเลี่ยงการตรวจจับของโปรแกรมประเภทโอซีอาร์ ซึ่งอาจแก้ปัญหาที่ทดสอบได้โดยอัตโนมัติ
บางครั้งมีการอธิบายระบบแคปต์ชาว่าเป็นการทดสอบของทัวริงแบบย้อนกลับ เพราะเป็นการทดสอบจากคอมพิวเตอร์ที่ส่งไปยังมนุษย์ ซึ่งในทางตรงข้าม การทดสอบของทัวริงเป็นการทดสอบจากมนุษย์ที่ส่งไปยังคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องจักรทัวริง
แคปต์ชาอาจใช้ในการตอบกลับฟอรั่มหรือเว็บบอร์ดสาธารณะทั่วไปตามอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้เพื่อป้องกันบอตหรือโปรแกรมอัตโนมัติทำการส่งข้อความไม่พึงประสงค์ เช่นสแปมหรือโฆษณาหลายคนที่เคยใช้งานอินเตอร์เน็ตคงเคยเห็นตัวอักษรที่มีลักษณะประหลาด บางตัวเอียง บางตัวหนา บางตัวบาง ไม่เท่ากัน หรือบางทีก็มีเส้นขีดคร่อมที่ตัวอักษร หรือมีฉากหลังยุ่งเหยิงดูยาก ซึ่งตัวอักษรเหล่านี้เรามักจะพบในบางเว็บที่มีการลงทะเบียนรับสมัครสมาชิก การโพสต์กระทู้ มีความหมายว่า แบบทดสอบคอมพิวเตอร์เพื่อแยกแยะระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์

แนวคิดของ CAPTCHA

         มาจากนักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อ Alan Turing ซึ่งมีผลงานที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย คือ Turing Test ที่เป็นแบบทดสอบเพื่อแยกแยะระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์  โดยอาศัยหลักการที่ว่า มนุษย์นั้นสามารถเข้าใจภาพได้ดีกว่าคอมพิวเตอร์
CAPTCHA ทำงานโดยป้อนข้อมูลในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถตีความได้ โดยใช้ตัวอักษรที่ถูกบีบและวางโย้เย้ไปมาบนพื้นหลังที่มีลวดลาย เพื่อทดสอบว่าผู้ใช้งานอยู่นั้นเป็นมนุษย์หรือคอมพิวเตอร์    โดยใช้วิธีการให้ผู้ใช้งานบอกตัวอักษรที่สร้างมาในลักษณะผิดรูปทรงดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อป้องกันการใช้งานระบบโดยคอมพิวเตอร์ ซึ่งต้องใช้เทคนิคการประมวลผลภาพ (Image Processing)  ในการถอดข้อความออกมาจากรูปภาพที่มีให้ เนื่องจากคอมพิวเตอร์นั้นคิดไม่ได้ ไม่มีจินตนาการ     จึงต้องใช้การประมวลผลภาพ    และความน่าจะเป็น ในการคำนวณอย่างซับซ้อนและต้องอาศัยเวลาในการประมวลผล ซึ่งผิดกับมนุษย์ที่สามารถเข้าใจภาพต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย
ปัจจุบันมีการนำเอา CAPTCHA มาใช้เพื่อประโยชน์หลายอย่าง เช่นในระบบอีเมล์มีการใช้ CAPTCHA เพื่อป้องกันสแปมเมล์ หรืออีเมล์ขยะที่ถูกโปรแกรมมาโดยให้คอมพิวเตอร์เป็นผู้ส่งอีเมล์เหล่านั้นไปยังผู้ใช้ หรือแม้แต่การโพสต์กระทู้ต่างๆ การโหวตคะแนนในการแข่งขันต่างๆ ที่ต้องการให้มนุษย์เป็นผู้ใช้งานด้วยตัวเอง เป็นต้น

           เว็บไซต์ใดที่มีฟอร์มให้ยูสเซอร์กรอก ไม่ว่าจะเพื่อสมัครสมาชิก ส่งคำแนะนำ หรือส่งข้อความรีวิว มักประสบปัญหาว่า ไม่เพียงแต่ได้รับข้อมูลตอบกลับจากยูสเซอร์จริงๆ (ที่เป็นมนุษย์) ยังต้องคอยปวดหัวในการคัดกรองฟอร์มข้อมูลที่ถูกกรอกโดยสแปมด้วย (สคริปต์คอมพิวเตอร์)สแปมพวกนี้มีจุดประสงค์หลักๆ คือ การโฆษณาหรือเพิ่มจำนวนลิงค์อ้างอิงให้กับเว็บตัวเอง หรือเพียงเพื่อความสนุก

           จึงเป็นที่มาของ UI CAPTCHA (Completely Automated Public Turing test to tell Computers andHumans Apart  ซึ่งเป็น UI ที่จะมาช่วยแยกแยะว่าคนที่กำลังกรอกฟอร์มอยู่เป็นมนุษย์หรือคอมพิวเตอร์

เรียบเรียงโดย : พิศิษฐ์  บวรเลิศสุธี

ที่มา

http://track.thailandpost.co.th/tracking/default.aspx

http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/spam/

http://www.microsoft.com/thailand/security/spam.aspx

http://th.wikipedia.org/wiki/แคช่า

http://www.aosoft.co.th/article/69/Captcha

http://www.select2web.com/php/captcha-2.html

http://www.thaiall.com/captcha.php

http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000139955

http://th.easyhostdomain.com/web-hosting/captcha.html

http://codesnippet.exteen.com/20100706/captchas

http://www.uiblogazine.com/ui-pattern/captcha-ui

https://www.scbeasy.com/

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save